นักขุดทองเผยสาเหตุดินถล่ม เชื่อขุดลึก-ผิดวิธี-ขุดจุดดินร่วน!

จากกรณีเกิดเหตุดินถล่มในบ่อขุดทอง ที่บ้านวังน้ำเขียว ม.7 ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้นายรุ่งอุทัย รุ่งสว่าง อายุ 48 ปี เจ้าของบ่อที่กำลังลงไปขุดดินติดอยู่ใต้กองดิน และเสียชีวิต

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังสวนยางของนายปรีชา สงวนไว้ อายุ 61 ปี ซึ่งเป็นนักขุดทองรุ่นใหญ่ ซึ่งอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 500 เมตร เพื่อดูลักษณะของบ่อขุดทอง ที่อยู่ในสวนยางพร้อมสอบถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

โดยนายปรีชา เปิดเผยว่า ปกติการทำงานแต่ละครั้งจะใช้คนประมาณ 2-3 คน โดยจะมีคนลงไปขุด 1-2 คน และคนคอยกว๊านดินขึ้นมา 1 คน แต่กรณีเมื่อวานนี้ ทราบว่าลงไป 3 คน แต่ขึ้นมาได้ 2 คน และบ่อดังกล่าวขุดลึกมากกว่าปกติที่จะขุดกันประมาณ 4-5 เมตร แต่บ่อที่เกิดเหตุมีการขุดลึกลงไปประมาณ 10 เมตร และมีการเชื่อมบ่อกันซึ่งปกติจะไม่เชื่อมถึงกันเพื่อป้องกันดินถล่ม สำหรับทองที่ได้ขึ้นมาจะมากน้อยก็แล้วแต่สภาพพื้นที่ ซึ่งที่บ่อของตนปีที่เเล้วเจอทองเม็ดหนักประมาณ 2 บาท มีคนมาติดต่อขอซื้อไปแล้วในราคา 160,000 บาท

ขณะที่นายมนัส ดวงเเก้ว อายุ 58 ปี นายมานัส ดวงแก้ว เลขานุการนายก อบต.ร่อนทอง เปิดเผยถึงการค้นหาผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์บ่อทองถล่ม ว่า ตนได้ใช้ทักษะที่เคยเป็นนักขุดทองมาใช้ในการวางแผนค้นหา โดยร่างของผู้เสียชีวิตอยู่ที่ความลึกประมาณ 9-10 เมตร ซึ่งตรงจุดนั้นไม่สามารถใช้รถแบคโฮ เปิดปากบ่อให้กว้างกว่านี้ได้เนื่องจากมีความเสี่ยงที่คนลงไปค้นหาจะเจอดินสไลด์ท้บซ้ำต้องใช้กำลังคนขุดดินลงไปตามรอยที่เป็นหลุมอยู่ลึกลงไปอีกประมาณ 3 เมตร ก็พบอุปกรณ์ในการขุดของผู้เสียชีวิตอยู่ครบ ก่อนพบร่างผู้เสียชีวิตลงไปอยู่ก้นบ่อในลักษณะนอนคว่ำหน้า โดยมีดินทับอีกชั้น ทั้งนี้คาดว่าที่ความลึกประมาณ 9 เมตรของบ่อดังกล่าว น่าจะเป็นจุดที่มีสายแร่ทองคำ เนื่องจากผู้เสียชีวิตได้มีการขุดลึกลงไปกว่าน้้น แล้วย้อนกลับขึ้นมาขุดตรงจุดนั้นบ่อตรงนั้นอีก

อย่างไรก็ตามผู้เสียชีวิต เเละเพื่อนร่วมทีมก็ทราบอยู่แล้วว่าดินตรงนั้นมันเป็นดินร่วนปนทราย สุ่มเสี่ยงต่อการถล่ม ซึ่งเราก็เข้าใจว่าอาชีพหาทองเมื่อเจอแล้วก็อยากจะได้อยากตามสายแร่ทองแม้จะเสี่ยงมาก ซึ่งสำหรับการหาทองบางสะพานในลักษณะขุดเป็นลึกลงไปในปัจจุบันเหลือไม่เยอะแล้วซึ่งจะเป็นในลักษณะเจ้าของที่ดินทำกันเองซึ่งปัจจุบันนิยมใช้วิธีการร่อนหาในน้ำในคลองทอง โดยที่มีบ่อแบบนี้ในพื้นที่ไม่น่าเกิน 10 ราย

ด้านนายนิกร โพธิ์น้อย นายก อบต.ร่อนทอง เปิดเผยว่า เหตุการดินถล่มในบ่อขุดทองเคยเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว ซึ่งการขุดทองในลักษณะดังกล่าวเป็นวิธีโบราณสืบต่อกันมาเป็นร้อยๆปีแล้ว โดยบ่อที่เกิดเหตุเป็นบ่อที่มีการขุดลึกกว่าปกติและไม่ใช่ดินเหนียวแต่เป็นดินร่วนซุยซึ่งลักษณะดังกล่าวที่เกิดขึ้นเรียกว่าทรายเลื่อน ซึ่งการขุดในลักษณะไม่สามารถห้ามปรามชาวบ้านได้ เพราะไม่มีการใช้เครื่องจักรใช้แรงงานชาวบ้านเเต่จะใช้วิธีการเรียกประชุมชาวบ้านและทำการแจ้งเตือนให้ระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

รู้จัก “รยูจุนยอล” นักแสดงมากความสามารถ หนุ่มผู้ครองหัวใจสาวฮันโซฮี

ลูกน้องบิ๊กโจ๊ก แฉ! เส้นทางการเงิน “นายพล ต.-ครอบครัว”โยงเว็บพนัน BNK

เริ่มแล้ว! พายุฤดูร้อนถล่มหนักคำพูดจาก สล็อต777! ฝนตก-ลูกเห็บตก บ้านเรือนเสียหายเพียบ