หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามายื่นขอใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา หรือเวอร์ชวลแบงก์ได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม ถึงวันที่ 19 กันยายน 2567 จากนั้นจะคัดเลือกและประกาศภายในเดือนมิถุนายน 2568 ก่อนจะให้เริ่มเปิดให้บริการได้คาดว่าภายในเดือน มิถุนายน 2569 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ธปท. ได้ออกคำถาม-คำตอบ เพื่อชี้แจงให้คลายข้อสงสัยในเรื่องต่างๆ โดยหยิบยกตัวอย่าง 5 เรื่อง ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank)
1.ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) คืออะไรและแตกต่างกับธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิมที่มีบริการ mobile/internet banking อย่างไร?
Virtual Bank คือ ธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ที่ไม่มีสาขา ซึ่งให้บริการผ่านช่องทำงดิจิทัลเป็นหลัก โดย Virtual Bank จะมีความเชี่ยวชำญในการให้บริการผ่านช่องทำงดิจิทัล และนำเทคโนโลยีรวมถึงข้อมูลที่หลากหลาย (ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทางเลือกอื่น ๆ เช่น พฤติกรรมการใช้จ่าย) มาใช้ประเมินความเสี่ยงและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า เพื่อนำเสนอบริการทางการเงินรูปแบบใหม่หรือเพิ่มประสิทธิภำพบริการทางการเงินที่มีอยู่เดิมให้ตอบโจทย์ลูกค้ำได้ดีขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ในขณะที่ mobile/internet banking เป็นช่องทางหนึ่งในการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิมที่ได้พัฒนาและปรับเปลี่ยนมาให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น เช่น การพัฒนา mobile banking app ให้ใช้งานง่าย สะดวก หรือการมีบัญชีเงินฝากดิจิทัล ควบคู่ไปกับการให้บริการผ่านสาขาและกระบวนการแบบดั้งเดิมที่ยังพึ่งพาการใช้บุคลากรในการให้บริการ
อย่างไรก็ดีในช่วงเริ่มต้น Virtual Bank อาจให้บริการรับฝากเงิน (cash-in) และถอนเงิน (cash-out) ผ่านตัวแทนทางการเงิน (banking agent) หรือสาขาอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น ตู้ CDM/ATM) ของธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นได้ เพื่อรองรับลูกค้าบางกลุ่มที่ยังจำเป็นต้องใช้เงินสดในช่วงที่ระบบการเงินไทยยัง ไม่พร้อมเข้าสู่กระบวนการดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ Virtual Bank ต้องมีแผนการทยอยลดการให้บริการผ่านช่องทางดังกล่าวต่อไป
2.ความคาดหวังจากการเปิดให้มี Virtual Bank ในไทย คืออะไร?
ธปท. คาดหวังให้Virtual Bank ใช้เทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านดิจิทัลและข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อนำเสนอบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ หรือเพิ่มประสิทธิภาพของบริการทางการเงินที่มีอยู่เดิมผ่านช่องทางดิจิทัล โดย
• มีบริการทางการเงินที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้บริการรายย่อยและกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังไม่ได้รับบริการทางการเงินอย่างเหมาะสมเพียงพอ
• สร้างประสบการณ์การใช้บริการทางการเงินที่ดีแก่ลูกค้ำ ด้วยรูปแบบการใช้งาน กระบวนการ และขั้นตอนการใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของลูกค้า
• ช่วยกระตุ้นการแข่งขันในระบบสถาบันกำรเงินอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมกำรพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงินที่ดีขึ้น ทั้งคุณภาพและราคา
3.ธปท. มีแนวทางการพิจารณาคำขออนุญาตอย่างไร?
• ธปท. จะพิจารณาคำขออนุญาตของผู้ขออนุญาตทุกรายด้วยหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจการเงินไทยโดยรวม และเสถียรภาพระบบการเงินเป็นสำคัญ ซึ่งรวมถึงการพิจารณารูปแบบและแผนการประกอบธุรกิจของผู้ขออนุญาตว่ามีความสอดคล้องกับสิ่งที่ธปท. คำดหวัง (green line) ได้แก่ การมีบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ หรือเพิ่มประสิทธิภาพของบริการทางการเงินที่มีอยู่เดิมผ่านช่องทางดิจิทัล โดยไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ ธปท. ไม่ต้องการเห็น (red line) ได้แก่ การประกอบธุรกิจที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบ , การเงิน หรือเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อผู้ฝากเงิน/ผู้ใช้บริการในวงกว้างควบคู่กับศักยภาพและความสามารถของผู้ขออนุญาตที่จะประกอบ , ธุรกิจ Virtual Bank ได้อย่างยั่งยืน ผ่านคุณลักษณะสำคัญ 7 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย
1) ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ Virtual Bank ให้เกิด green line โดยไม่เกิด red line ตามรูปแบบและแผนที่เสนอมา
2) ความรู้ความสามารถและธรรมาภิบาลของผู้ขออนุญาตและผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ
3) ความสามารถในการประกอบธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีและให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล
4) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ยืดหยุ่น มั่นคง ปลอดภัยและให้บริการได้ต่อเนื่อง
5) ความสามารถในการเข้าถึง บริหารจัดการ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่หลากหลาย
6) ความสามารถในการบริหารความเสี่ยงธุรกิจการเงิน และ Risk Culture ที่ดี
7) ฐานะและการสนับสนุนทางการเงินของผู้ถือหุ้น
นอกจากนี้ ธปท. จะคำนึงถึงการมีธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ที่มีศักยภาพและความสามารถในจำนวนที่เหมาะสมกับระบบสถาบันการเงินในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการแข่งขันเพื่อประโยชน์ต่อผู้ฝากเงิน ผู้ใช้บริการ และระบบเศรษฐกิจการเงินไทยโดยรวม โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ
4.การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาจะได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากหรือไม่?
ผู้ฝากเงินกับ Virtual Bank จะได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครอง เงินฝากเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น กล่าวคือ ได้รับความคุ้มครองวงเงิน 1 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน
5.Timeline ที่สำคัญเกี่ยวกับ Virtual Bank?คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
• ธปท. จะเปิดระบบรับคำขออนุญาตเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2567 ถึง 19 กันยายน 2567
• หลังปิดรับคำขออนุญาต ธปท. และ กระทรวงการคลัง จะใช้เวลาพิจารณาคำขออนุญาตรวมกัน 9 เดือน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้ง Virtual Bank ได้ในช่วงกลางปี 2568
• ผู้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้ง Virtual Bank จะมีเวลาเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ และต้องเปิดดำเนินการภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ