GC สู่การเป็น…NET ZERO โลกร้อนกระทบเรา เราต้องลดการปล่อยคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์

สหราชอาณาจักรอุณหภูมิทำลายสถิติแตะระดับ 40 องศาเซลเซียส  จีนเผชิญคลื่นความร้อนยาวนานที่สุดในรอบ 60 ปี  ไนจีเรียเจอกับน้ำท่วมหนักสุดในรอบทศวรรษ  และที่ปากีสถาน มีฝนตกต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่คร่าชีวิตผู้คนนับพัน คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทางรอดโลกและทางรอดเรา คือ ต้องลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรลุ Net Zero ทั่วโลกให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งคำว่า Net Zero คือแนวทางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ ไม่ใช่แค่ในเชิงอุตสาหกรรม แต่รวมถึงทุกกระบวนการที่เกิดขึ้นต้องไม่เพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC  กล่าวว่า GC มีแผนชัดเจนก้าวสู่ “Net Zero Company” (การลงทุนในธุรกิจคาร์บอนต่ำ) เป้าหมายต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% ภายในปี ค.ศ.2030  ซึ่งได้วางแผน เอาไว้ชัดเจนแล้วว่า จะพาองค์กรไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร มีการเตรียมงาน งบประมาณ และโครงการในแผนเอาไว้อย่างครบถ้วน หลายแผนหลายโครงการเห็นเป็นรูปธรรมแล้ว เพื่อเดินสู่เป้าหมายต่อไปคือ บรรลุ Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2050 หรือ ราว 11.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คาดว่าจะใช้งบประมาณรวมจนถึงปี ค.ศ. 2050 ที่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ  หรือมากกว่า 1.5 ล้านล้านบาท  และสิ่งที่จะช่วยให้ GC บรรลุเป้าหมายใหญ่นี้ได้ คือการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีพิเศษซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ การดูดซับ ดักจับคาร์บอน (Carbon Capture) และพลังงานทดแทนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนองค์กรของ GC  กล่าวว่า  จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ดีในวงกว้างคือการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่น อย่างแรกคือต้องปรับวิธีคิดของทุกคนในองค์กร บูรณาการกับกระบวนการทางการเงินเพื่อธุรกิจยั่งยืน โดยมี Internal Carbon Pricing หรือ มูลค่าการเงินต่อหน่วยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  เข้าไปใช้ในกลไก Shadow Price เพื่อประเมินความคุ้มค่าของโครงการ  อีกกลไกหนึ่งคือ Carbon Fee เป็นการจำลองการจ่ายภาษีก๊าซเรือนกระจกในองค์กร เบื้องต้นจะทำในรูปแบบของ Shadow Accounting ธุรกิจใดปล่อยคาร์บอนมาก ต้องมีต้นทุนเพิ่มเหมือนจ่ายภาษีแต่เป็นภายในองค์กร  จากนั้นจะเงินมาไว้เป็นกองทุนกลาง ส่วนงานใดมีโครงการช่วยประหยัดพลังงานหรือลดคาร์บอน หรือจะลงทุนธุรกิจใหม่ ๆ ก็ดึงเงินกองทุนกลางเข้าไปช่วยได้ กลุ่มธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนมากก็ต้องปรับตัว  การทำแบบนี้จะค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านธุรกิจจนเป็นไปตามแผนในท้ายที่สุด เดินไปพร้อมกับการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ในทุกระดับ เพื่อเป้าหมาย Net Zero ที่ทำได้จริงและไม่ไกลเกินเอื้อมของทุกคน ผ่านแนวคิด Together To Net Zero เพราะ GC เชื่อเสมอว่า ทุกคนมีส่วนร่วมได้หากมองเห็นแนวทางที่จะนำไปปรับใช้กับบริบทและสถานการณ์ของตน  โดยมีเวทีสื่อสารสำคัญ คือ การจัดงานด้านความยั่งยืนครั้งใหญ่ Circular Living Symposium 2022 : Together To Net Zero”เมื่อวันที่ 25 – 26 สิงหาคมที่ผ่านมา

ปรากฏการณ์ Symposium ปีที่ 3 เป็นการยกระดับความร่วมมือด้านความยั่งยืน ด้วยการต่อยอดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ เพื่อขยายผลสู่แนวทางการลดการปล่อยคาร์บอน นำไปสู่การผลักดันเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์อย่างเป็นรูปธรรม  ผ่านการจำลองการใช้ชีวิตในสังคมคาร์บอนต่ำ เมืองที่วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่จะมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น รวมถึงสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข  อาทิ Net Zero Farm & Cafe: ฟาร์มคาเฟ่สายกรีนสำหรับคนยุคใหม่  Net Zero Avenue: ที่มีการเปิดตัวสินค้ารักษ์โลก UPTOYOU ผลิตภัณฑ์อัปไซเคิลและ low carbon ออกแบบโดย 2 ดีไซเนอร์ไทย ได้แก่ Greyhound และ Pomme Chan  นอกจากนี้ยังฉายภาพ Net Zero Living: บ้านรักษ์โลกที่เชื่อมต่อแบบดิจิตัลฉบับคนรุ่นใหม่  และNet Zero Industry: โรงงานสีเขียวด้วยพลังงานจากธรรมชาติ

การสร้างสังคม Net Zero  จำเป็นต้องเข้าให้ถึงรายใหญ่และรายย่อยระดับชุมชน  GC มีหน้าที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง แชร์ประสบการณ์ และสร้างแพลตฟอร์มกลาง สนับสนุนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ เพื่อให้เราสามารถส่งต่อโลกที่น่าอยู่ใบนี้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้ด้วยความภาคภูมิใจ
“Together to Net Zero เพราะศูนย์ไม่ใช่แค่เป้าหมาย แต่คือเส้นชัยของเราทุกคน”